ReadyPlanet.com
dot
dot
bulletCycle contest
bulletNew Motorcycle
bulletMotor sport
bulletCycle Care
dot
dot
bulletThai Honda
bulletThai Yamaha
bulletThai Suzuki
bulletKawasaki Motor
bulletVespa Thailand
bulletOKD Shock
bulletStallions Motorcycle
bulletDucati Thailand
bulletBMW Thailand
bulletHarley-Davidson Thailand
bulletTriumph Thailand
dot
dot
bullet101bike
bulletเล่าเกียงเซ้ง
bulletธีระมอเตอร์ไซเคิล
bulletPanom Racing
bulletPanda Rider
bulletดำรงค์ยางยนต์
dot

dot


เพิ่มเพื่อน
www.cycle-road.com


ตรวจเช็ครถให้พร้อม ก่อนออกทริป!!

     สำหรับการตรวจเช็คจุดต่างๆ เบื้องต้น ก่อนการเดินทาง ที่หลายคนอาจจะละเลย วันนี้ Cycle Road.com มีข้อมูลมาฝากเหล่าชาวสองล้อให้สามารถนำไปใช้กัน การตรวจเช็ค 10 ประการ ก็มีดังนี้

  1. ให้ตรวจดูคราบน้ำมันเครื่องว่ามีหยดอยู่บนพื้นหรือรั่วซึมออกมาหรือไม่ ถ้ามีให้ตรวจเช็คน็อตน้ำมันเครื่องว่าขันแน่นหรือไม่ เช็คใต้แครงค์ว่ามีรอยร้าวหรือไม่และรอบปะเก็นเครื่องยนต์สนิทดีหรือไม่ ถ้าผิดปกติให้รีบแก้ไขให้ดีเพราะภายในห้องเครื่องยนต์มีแรงดันสูง การแก้ไขแค่พอใช้ได้อาจจะมีปัญหาตามมาระหว่างการเดินทางได้
  2. ตรวจเช็คระดับน้ำมันหล่อลื่นให้อยู่ในระดับที่กำหนด สามารถมองเห็นได้ที่ตาแมวของเครื่องยนต์ โดยระดับน้ำมันเครื่องควรอยู่ในระดับ 70% ของช่องดูระดับน้ำมันเครื่อง บางรุ่นไม่มีช่องตาแมวให้เปิดฝาช่องเติมน้ำมันเครื่องและใช้ก้านวัดที่ติดอยู่กับฝา วัดระดับน้ำมันเครื่อง
  3. ตรวจเช็คยางทั้งหน้าและหลัง ตรวจเช็คแรงดันลมยางให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ไม่แข็งหรืออ่อนจนเกินไป รวมทั้งตรวจเช็คสภาพการสึกหรอของยาง เนื้อยางเต็มๆ ไม่ได้หมายความว่ายางเส้นนั้นยังใช้ได้ถ้ายางแข็งควรที่จะเปลี่ยนก่อนออกเดินทาง หรือยางถึงเซ็นเตอร์ (จุดวัดการสึกของยาง) ก็ควรเปลี่ยนยางเช่นกัน
  4. ตรวจเช็คระบบขับเคลื่อน โดยเฉพาะโซ่ อย่าให้ตึงตึงหรือหย่อนเกินไป (ระยะความตึงของโซ่ประมาณ 15-20 มม.) โดยปัจจุบันโซ่มีทั้ง O-Ring , X-Ring ก็เพื่อประสิทธิภาพการเก็บสารหล่อลื่นไว้ในข้อโซ่ นอกจากนั้นก่อนออกเดินทางควรฉีดโซ่ทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้สารหล่อลื่นซึมและแทรกตัวเข้าไปอยู่ใน O-Ring , X-Ring ควรใช้สเปรย์ฉีดโซ่โดยเฉพาะเท่านั้น
  5. ตรวจระบบเบรก เช็คการทำงานทั้งงเบรกหน้าและเบรกหลังว่าทำงานได้ดีหรือไม่ เมื่อกำเบรกหรือเหยียบเบรกแล้ว ก้านเบรก ขาเบรกต้องทำงานได้ดีโดยเลื่อนรถไปข้างหน้าหรือถอยหลังแล้วกำหรือเหยียบเบรกต้องสามารถหยุดรถได้ทันที (ระยะฟรีของคันเบรกหน้า คันเบรกหลังให้อยู่ในประมาณ 15-20 มม.)  นอกจากนั้นก็อย่าลืมตรวจเช็คระดับน้ำมันเบรกให้อยู่ในระดับที่กำหนด และต้องไม่มีน้ำมันเบรกซึมตามสายหรือหัวน็อต 
  6. ตรวจเช็คระบบคลัทช์ เมื่อบีบคลัทช์มาด้านหลังจนสุด เช็คการทำงานของคลัทช์ดูว่าเมื่อบีบแล้วสามารถเข้าเกียร์ได้นุ่มนวลเป็นปกติหรือไม่ ระยะฟรีคลัทช์ที่เหมาะสมควรอยู่ในระยะ 15-20 มิลถ้าพบอาการผิดปกติ  เช่น คลัทช์ส่าย ก็ให้เช็คดูว่ามีสายพับหรือหักตรงบริเวณไหน ถ้าฝืดให้ถอดออกมาหล่อลื่น  นอกจากนั้นก็ให้ตรวจเช็คน้ำมันคลัทช์น้ำมัน หากมีตะกอนสะสมอยู่ก็ให้เปลี่ยนน้ำมันในกระปุกคลัทช์ใหม่
  7. ตรวจเช็คระบบไฟสัญญาณและแตร ให้เช็คระบบไฟสัญญาณต่างๆ ทั้ง ไฟหน้า ไฟเบรก ไฟเลี้ยว แตร ดูว่าสามารถทำงานได้เป็นปกติ ถ้าไฟไม่ติดขั้นแรกให้เช็คหลอดดูว่า หลอดขาดหรือไม่ ถ้าหลอดไม่ขาด ขั้นตอนต่อมาให้เช็คฟิวส์ดูว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ ถ้าเสียหายให้เปลี่ยนใหม่ก่อนออกเดินทาง
  8. ตรวจเช็คน็อตบนตัวรถทุกตัวดูว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้หรือไม่ ขันแน่นหรือไม่ จุดยึดต่างๆ ของน็อตยังอยู่ครบทุกตัวไม่หล่นหายไป และติดเทปกาวตรงหัวน๊อตเพื่อความชัวร์ว่าจะไม่หลุดหายเมื่อต้องใช้รอบสูงเป็นเวลานานอันเนื่องมาจากแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องยนต์สามารถทำให้น็อตคลายได้
  9. ตรวจเช็คนำมันเชื้อเพลิง ข้อนี้สำคัญมาก ก่อนการขับขี่ทุกครั้งต้องแน่ใจว่ามีน้ำมันเชื้อเพลิงเต็มถัง หรือเพียงพออยู่เสมอไม่งั้นล่ะก็เข็นกันเหนื่อย เพราะรถบิ๊กไบค์น้ำหนักก็ไม่ใช่น้อยถ้าต้องเข็นคงทำให้หมดสนุกอย่างแน่นอน ปัจจุบันรถบิ๊กไบค์หลายๆ รุ่นมีไฟเตือนน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อใกล้จะหมดถัง หลังจากไฟเตือนโชว์ขึ้นที่เรือนไมล์ก็ยังสามารถวิ่งไปได้อีก 30-50 กิโลเมตร (แล้วแต่รุ่น) แต่ถ้ารถรุ่นนั้นไม่มีไฟเตือนคงต้องเปิดดูน้ำมันในถังด้วยตัวเอง
  10. เป็นการตรวจเช็คควรพร้อมด้านอื่นๆ หรือระบบอื่นๆ สำหรับรถที่ไฮเทค มีระบบนำทาง GPS ก็อย่าลืมตรวจเช็ค และลองเซ็ตค่อตำแหน่งและเส้นทางไว้ให้เรียบร้อย ส่วนกลุ่มชมรมไหนที่เดินทางกันเป็นขบวนหลายสิบคัน ก็ควรจะมีรถเซอร์วิสปิดท้ายขบวน เพื่อช่วยขนสัมภาระหรือน้ำมันสำรอง โดยหากเป็นรถปิคอัพจะดีที่สุด เพราะหากรถคันใดก็สามารถขนรถมอเตอร์ไซค์ขึ้นรถเซอร์วิสได้เลย ไม่ต้องมาเสียเวลาซ่อมกลางทาง

     สุดท้ายนี้ นอกเหนือจากเตรียมรถคู่ชีพให้พร้อมแล้ว ก็อย่าลืมเตรียมตัว เตรียมร่างกายและจิตใจ ให้พร้อมสำหรับการเดินทาง และที่สำคัญที่สุดก็คือ อย่าลืมใส่หมวกกันน็อค และแต่งกายให้รัดกุม รวมถึง “เมาไม่ขี่” โชคดีทุกๆ ท่านครับ....
 




Cycle Care...

เทคนิคการเบรคให้ปลอดภัยสูงสุด!
ล้อและยาง - เรื่องพื้นฐานของมอเตอร์ไซค์
การปรับความหนืดของ "โช๊คอัพ"
สภาพรถ Big Bike มือสอง
ฮีทสโตรก
การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในช่วงฤดูร้อน
น้ำมันเบรก : เรื่องที่ต้องรู้
เรื่องของ " หัวเทียน "
ดูแลระบบส่งกำลังแบบ "สายพาน" ด้วยตัวเอง
การดูแลระบบความร้อน