ReadyPlanet.com
dot
dot
bulletCycle contest
bulletNew Motorcycle
bulletMotor sport
bulletCycle Care
dot
dot
bulletThai Honda
bulletThai Yamaha
bulletThai Suzuki
bulletKawasaki Motor
bulletVespa
bulletGPX
bulletHSEM
bulletDucati
bulletBMW Thailand
bulletHarley-Davidson Thailand
bulletTriumph Thailand
dot
dot
bulletJomthai Asahi
bulletIRC Tire
bulletDID / ELF / STANLEY
bulletCastrol
bulletIDEMITSU
bulletฺBRIDGESTONE
dot

dot


เพิ่มเพื่อน
www.cycle-road.com


ดูแลระบบส่งกำลังแบบ "สายพาน" ด้วยตัวเอง

     ปัจจุบันรถจักรยานยนต์แบบออโตเมติกที่ใช้ระบบส่งกำลังด้วย “สายพาน” กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยระบบการขับขี่ที่ง่าย สะดวกสบาย ไม่ต้องเข้าเกียร์เปลี่ยนเกียร์ เพียงแค่บิดคันเร่งอย่างเดียว รถก็ออกตัวไปข้างหน้าได้อย่างง่ายดาย และสำหรับรถจักรยานยนต์ประเภทนี้สิ่งที่ควรดูแลเป็นพิเศษก็คือ “ระบบส่งกำลัง” เพราะถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อน  ฉะนั้นหากระบบส่งกำลังเกิดปัญหาขึ้นมันจะทำให้รถของคุณออกตัวไม่ดีและรถไม่ค่อยวิ่งด้วย ฉะนั้นเรื่องการดูแลรักษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเลยทีเดียว

     ระบบการส่งกำลังแบบเกียร์อัตโนมัติซึ่งใช้สายพานรูปตัว V (V-Belt) นั้น ระบบส่งถ่ายกำลังแบบนี้จะประกอบด้วย ล้อขับสายพานหน้าและล้อปรับความเร็วหลัง หรือที่เราเรียกกันว่า “พูลเล่ย์” (Pulley) ซึ่งใช้สายพานรูปตัว V เป็นตัวเลื่อน ดังนั้นการเปลี่ยนอัตราทดจึงขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของสายพานรูปตัว V ส่วนประกอบของระบบส่งกำลังที่สำคัญมีอยู่ 3 จุดหลักๆ คือ สายพานรูปตัว V (V-Belt), ชุดพูลเล่ย์หน้า และชุดพูลเล่ย์หลัง โดยทั้งหมดยังมีอะไหล่ประกอบที่จะเรียงจากชุดพูลเล่ย์หลังไปทีละชิ้น เริ่มจาก โอริ่ง, เสื้อคลัทช์, ผ้าคลัทช์, สปริง, ปลอกรองสปริง, ซีลน้ำมัน, โอริง, ล้อพูลเล่ย์หลังตัวใน, ล้อพูลเล่ย์หลังตัวนอก, สลักนำร่อง, สายพานรูปตัว V (V-Belt), แหวนกระทะ, คลัทช์วัน – เวย์, แหวนรองแฉก, ล้อพูลเล่ย์หน้านอก, แหวนรอง, บู๊ชรอง, ซีลน้ำมัน, ล้อพูลเล่ย์หน้าตัวใน, ตุ้มน้ำหนัก, แผ่นเลื่อน, พลาสติคสวมร่องแผ่นเลื่อน และปะเก็นฝาครอบชุดสายพาน  ซึ่งทั้งหมดเป็นอะไหล่ของระบบส่งกำลัง

     การดูแลรักษาที่ผู้ใช้ควรกระทำตามเวลาที่กำหนด เช่น สายพานในระยะแรกที่ควรตรวจสอบคือ 1,000 กิโลเมตรแรก  หลังจากนั้นก็ทุกๆ 4,000  กิโลเมตร และควรเปลี่ยนสายพานเส้นใหม่ที่ 24,000  กิโลเมตร หรือเปลี่ยนเมื่อสายพานชำรุด และเพื่อให้ทุกท่านสามารถตรวจสอบระบบส่งกำลังเองที่บ้าน เรามีขั้นตอนการถอดประกอบมาฝาก...เริ่มจากเปิดฝาครอบแคร้งสายพานออกก่อน จากนั้นถอดชุดพูลเล่ย์หน้าออก ตามด้วยชุดพูลเล่ย์หลัง ก่อนยกชุดสายพานออกให้บีบสายพานเข้าหากันเพื่อสะดวกในการถอด เมื่อถอดทุกชิ้นออกมาแล้วให้ทำความสะอาดคราบฝุ่นละอองที่ติดอยู่ทั้งชุดพูลเล่ย์หน้าและชุดพูลเล่ย์หลัง จากนั้นให้ตรวจสอบเสื้อคลัทช์หากพบว่าสึกหรอให้เปลี่ยนใหม่ ส่วนผ้าคลัทช์หากสึกบางจนเหลือต่ำกว่า 2 มม. ควรเปลี่ยนใหม่ ส่วนตุ้มน้ำหนักหากพบว่ามันเบี้ยวไม่กลมจะต้องเปลี่ยนใหม่ยกชุดแต่ที่สำคัญชุดสายพานต้องไม่มีคราบจาระบี น้ำมันหล่อลื่น หรือสารหล่อลื่นใดๆ เลย เพราะมันจะทำให้สายพานลื่น  ระบบการขับเคลื่อนก็จะเสียไปด้วย รถบางคันที่ไม่เคยใช้คันสตาร์ทเลย เมื่อถอดฝาครอบออกมาควรจะทำความสะอาดและใส่จาระบีใหม่ เพื่อให้ระบบสตาร์ทไม่ฝืดและพร้อมใช้งานเสมอ เมื่อตรวจเช็คเรียบร้อยก็ควรทำความสะอาดก่อนที่จะประกอบ

     งานประกอบก็ไม่ยาก เริ่มจากใส่ล้อพูลเล่ย์หน้าตัวใน ต่อด้วยสายพานเข้ากับชุดพูลเล่ย์หลังแล้วใส่เข้าไปที่เพลาล้อพูลเล่ย์หลัง ใส่เสื้อคลัทช์ (ชามคลัทช์) ขันน็อตยึดพร้อมใส่โอริง (อย่าลืมเด็ดขาด) ต่อด้วยใส่ล้อพูลเล่ย์หน้าและขันน็อตให้แน่น ใส่ปะเก็นฝาครอบชุดสายพาน เมื่อใส่ทุกอย่างเรียบร้อยลองสตาร์ทด้วยเท้าดูว่าชุดสตาร์ทใช้งานได้หรือไม่ หากมีเสียงดังหรือออกตัวไม่ค่อยไปก็ถอดเปิดและตรวจสอบใหม่ ทำตามขั้นตอนซ้ำเหมือนเดิม...
นี่ก็เป็นการดูแลระบบส่งกำลังแบบ “สายพาน” แบบง่ายๆ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตัวเอง และต่อไปทุกท่านที่ใช้จักรยานยนต์แบบออโตเมติกก็สบายใจได้ในเรื่องงานตรวจชุดสายพาน...เพราะสามารถทำเองได้สบายๆ ครับ!!




Cycle Care...

เทคนิคการเบรคให้ปลอดภัยสูงสุด!
ล้อและยาง - เรื่องพื้นฐานของมอเตอร์ไซค์
ตรวจเช็ครถให้พร้อม ก่อนออกทริป!!
การปรับความหนืดของ "โช๊คอัพ"
สภาพรถ Big Bike มือสอง
ฮีทสโตรก
การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในช่วงฤดูร้อน
น้ำมันเบรก : เรื่องที่ต้องรู้
เรื่องของ " หัวเทียน "
การดูแลระบบความร้อน