ReadyPlanet.com
dot
dot
bulletCycle contest
bulletNew Motorcycle
bulletMotor sport
bulletCycle Care
dot
dot
bulletThai Honda
bulletThai Yamaha
bulletThai Suzuki
bulletKawasaki Motor
bulletVespa
bulletGPX
bulletHSEM
bulletDucati
bulletBMW Thailand
bulletHarley-Davidson Thailand
bulletTriumph Thailand
dot
dot
bulletJomthai Asahi
bulletIRC Tire
bulletDID / ELF / STANLEY
bulletCastrol
bulletIDEMITSU
bulletฺBRIDGESTONE
dot

dot


เพิ่มเพื่อน
www.cycle-road.com


ล้อแม็ก VS ล้ออลูมิเนียมอัลลอย

   ก่อนอื่นคงต้องขอเกริ่นนำเสียก่อนว่า “ล้อแม็ก” ที่เราเข้าใจกันและใช้กันอยู่ทั่วๆ ไปนั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่ล้อแม็ก เพราะล้อแม็กจริงๆ แล้วก็คือ “ล้อแม็กนีเซียม” ซึ่งก็มาจากคำว่า "แมกนีเซียม อัลลอย (Magnesium Alloy) " คือวัตถุผสมที่มีแมกนีเซียมเป็นหลัก ดังนั้นใครที่เขียน ล้อแม็กซ์ (MAX) ก็ผิดนะครับ ล้อแม็กเป็นอุปกรณ์ประดับยนต์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ใช้ทดแทนล้อที่ทำจากเหล็กหล่อหรือล้อกะทะ ซึ่งนอกจากจะมีความสวยงามตามลวดลายและขนาดที่มีให้เลือกหลายรูปแบบแล้ว ข้อดีของล้อแม็กก็คือน้ำหนักเบา แข็งแรง ระบายความร้อนได้ดีเยี่ยม ยิ่งถ้าผลิตด้วยกรรมวิธีแบบหล่อเย็น (Forge) ก็จะยิ่งแข็งแรงมากกว่าเหล็กทั่วไปอีกด้วยซ้ำ

   ข้อเสียของ “ล้อแม็กนีเซีย” ก็คือ ราคาแพง!! ว่ากันวงละเป็นหมื่นจนถึงหลักครึ่งแสนเลยทีเดียว ดูอย่างล้อพวก Rays Engineering, Volk, Works, Prodrive, BBS, Enkei Racing พวกนั้นยังเป็น Alluminum Alloy เลย แต่ใช้กรรมวิธีการผลิตดี วงละ 30,000 บาทเป็นอย่างต่ำ (ยกเว้น Enkei ถูกหน่อย) บางรุ่นก็ใช้ Forged คือหล่อเย็นและอัดด้วยแรงดันสูง ทำให้เนื้อโมเลกุลเกาะกันแน่นและแข็งแรงโดยที่ไม่ต้องอาศัยปริมาณเป็นตัวช่วย ทำให้ล้อออกมาเบา ได้สมดุลย์ และแข็งแรงมาก รถที่ใส่ล้อแท้แบบนี้ ไปดูตะกั่วถ่วงล้อได้ครับ แปะนิดเดียว บางล้อไม่แปะ บางล้อแค่หนึ่งถึงสองท่อนครึ่งเท่านั้น

   อย่างไรก็ตามล้อแม็กที่เราเห็นทั่วๆ ไป นั้น หากดูภายนอกและรูปลักษณ์อาจจะคล้ายคลึงกัน แต่จริงๆ แล้วส่วนผสมของวงล้อก็คือ “อลูมินัม อัลลอย” คุณสมบัติดีเท่าแมกนีเซียมไม่ได้แน่นอน น้ำหนักก็หนักกว่า เปราะกว่า แต่ก็ยังถือว่าเบากว่าล้อเหล็ก ล้ออัลลอยพวกนี้สามารถออกแบบลวดลายได้สวยกว่า เพราะใช้การหล่อขึ้นมาจากแม่พิมพ์ไม่เหมือนล้อกระทะเหล็กที่ใช้ปั๊มเอาจากเหล็กแผ่น และที่สำคัญก็คือราคาไม่แพง บางรุ่นแค่หลักพัน หากเป็นล้อนำเข้าหรือมีส่วนผสมของแม็กนีเซี่ยมก็แหลักหมื่นต้นๆ จึงนิยมนำมาใช้กับรถสมัยใหม่มากกว่า
   สำหรับกรรมวิธีการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอย สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
1. การใช้ระบบกำลังอัดต่ำ (Low Pressure) เป็นการดูดโลหะผลมที่กำลังหลอมละลายเข้าไปในแม่แบบที่เป็นสูญญากาศ
2. การใช้ระบบกำลังอัดสูง (High Pressure) เป็นการฉีดโลหะที่กำลังหลอมละลายเข้าไปในแม่แบบ
3. การเทลงในแม่แบบ (Gravity Die Casting) วิธีนี้เป็นที่นิยมสำหรับผู้ประกอบการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยในประเทศไทย เป็นการนำเอาโลหะที่หลอมละลายแล้ว เทลงไปในแม่แบบเพื่อหล่อเป็นตัวล้อ นำมาตัดแต่งให้ได้รูปทรง ผ่านการชุบ อบให้แห้ง แล้วผ่านกระบวนการกลึงการเจาะรูตามใบสั่งซื้อและ/หรือตามสเปคของรุ่น และการพ่นสี โดยในทุกขั้นตอนการผลิตจะมีการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเสมอและการผลิตวิธีนี้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้หลักของแรงเหวี่ยงเข้ามาช่วยในการผลิต เพื่อให้โมเลกุลของโลหะผสมยึดเกาะติดกันแน่น ก่อให้เกิดความแข็งแรงและทนทาน

   สำหรับคำถามที่หลายคนอยากรู้ก็คือ ล้อแม็กนำเข้าและที่ผลิตในประเทศ “คุณภาพแตกต่างกันหรือไม่” คงต้องดูที่วัสดุที่ใช้ในการผลิต เพราะหากเป็น “แม็กนีเซี่ยม” ยังๆ ก็ย่อมต้องดีกว่าล้อแม็กที่ใช้อลูมิเนียมอัลลอย แต่หากเป็นพิจารณาโดยรวมแล้ว เดี๋ยวนี้ล้อแม็กของไทยราก็ได้มาตรฐานระดับสากล เพราะจากกรรมวิธีการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ การหลอม การหล่อ การชุบ/อบ การกลึง และการพ่นสี ซึ่งในแต่ละขั้นตอนต้องการใช้เครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีสูง โดยเฉพาะเครื่องจักรที่ใช้ในการหล่อและการกลึง ผู้ผลิตจึงนิยมนำเข้าจากต่างประเทศโดยตรง ส่วนขั้นตอนการหลอม และการชุบ/อบ มีโรงงานผลิตและประกอบเครื่องจักรในไทย รับทำเครื่องจักรตามคำสั่งของลูกค้าแบบเหมาทำและติดตั้งให้ทั้งระบบ อาทิ บริษัท โคโย แมนนิวแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามผู้ประกอบการที่ร่วมทุนกับชาวต่างชาติ พบว่าเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตทั้งหมดจะนำเข้าโดยมีบริษัทแม่ต่างประเทศเป็นผู้จัดหาให้ อาทิ บริษัท เอนไกไทย จำกัด ผู้ผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีการนำเข้าเครื่องจักรในทุกกระบวนการผลิตจากบริษัท เอนไก เอนจิเนียริ่ง จำกัด ประเทศญี่ปุ่น จึงทำให้ได้ล้อแม็กมาตรฐานใกล้เคียงกัน...รู้อย่างนี้แล้ว ก็คงมั่นใจในล้อแม็กของเราได้พอสมควรนะครับ




Special Scoop...

“ถนนปลอดภัยในสถานศึกษา” โดย บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
2012 350 Enduro Comparision :: Power Orange 350 vs. 350
เส้นทางหฤโหด สู่การเป็น "ราชาแห่งสตั๊นท์"
Cycle Clinic
WR250F Vs. CRF250X : The Japanese Enduro Test
Top 10 Best Superbike 2012
Test - Kawasaki Z1000 2012
ดอม เหตระกูล กับ Triumph มอเตอร์ไซค์ในฝันสำหรับคนรุ่นใหม่
Yamaha Press Member "Diasil Technology 2011"
เยือนประเทศลาว กับ Yamaha
Yamaha Fuel Saving Touring Contest