|
|
เรื่องของความร้อนกับเครื่องยนต์ดูเหมือนว่าจะปัญหาคู่ขนานกันมาโดยตลอด เนื่องจากอุณหถูมิความร้อนที่สูงเกินไป นอกจากจะทำให้สมรรถนะของเครื่องยนต์ลดลงแล้ว ยังอาจะทำให้เครื่องยนต์ชำรุดเสียหายได้ รวมถึงอาจจะรุกรามไปถึงชิ้นส่วนอื่นๆ อีกด้วย ดังนั้น ผู้ขับขี่จึงไม่ควรละเลยการดูแลบำรุงรักษาระบบระบายความร้อน และรู้จักสังเกตถึงความร้อนของเครื่องยนต์เป็นประจำด้วย
สำหรับรถที่ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศหรือ “หม้อลม” ซึ่งเป็นระบบทั่วๆ ไปของรถจักรยานยนต์ที่ใช้กันในอดีต อาจะมีการดูแลบำรุงรักษาไม่มากนัก แต่หากใครที่ใช้รถ “หม้อน้ำ” หรือระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ คงต้องให้การดูแลกันเป็นพิเศาหน่อย เพราะเนื่องจากมีระบบที่ยุ่งยากซับซ้อนมากกว่า แต่ก็ให้ประสิทธิภาพการระบายความร้อนที่ดีกว่า ดังนั้น ในฉบับนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ วิธีการบำรุงรักษาหม้อน้ำหรือระบบหล่อเย็น
หม้อน้ำ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอีกตัวหนึ่งของเครื่องยนต์ เพราะหม้อน้ำจะช่วยระบายความร้อนในการทำงานของเครื่องยนต์ให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เครื่องยนต์ร้อนจัด โดยการระบายความร้อนของเครื่องยนต์จะใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อน ทำให้ต้องมีการเช็คระดับน้ำอยู่เสมอว่าลดลงไปมากเท่าใด ถ้าลดลงมากจนแห้งอาจจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูงหรือ “โอเวอร์ฮีท” และสร้างความเสียหายตามมาได้
|
|
การดูแลรักษาหม้อน้ำนั้นไม่ยากเลยครับ บางท่านอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องยาก จริงๆ แล้วเราสามารถตรวจเช็คเบื้องต้นได้ และถ้าจะให้ดีก็ควรจะตรวจเช็คทุกๆ สัปดาห์เป็นอย่างน้อย แต่หากรถที่ใช้งานมานาน (มากกว่า 5 ปี) ก็ควรจะตรวจเช็คทุกๆ 2-3 วัน โดยมีวิธีการดูแลรักษาง่ายๆ ดังนี้
- ควรตรวจดูระดับน้ำทุกๆ ครั้งก่อนสตาร์ตเครื่องยนต์ หรืออย่างน้อยทุกๆ 2-3 วัน ซึ่งปกติระดับน้ำควรอยู่ตรงคอหม้อน้ำพอดี หรืออยู่ระหว่างกึ่งกลางขีด MAX และ MIN สำหรับรถที่มีหม้อพักน้ำ ถ้าลดลงนิดหน่อยก็เติมน้ำเพิ่ม แต่ถ้าหากน้ำลดลงมาก ก็ขอให้สันนิฐาก่อนนว่าอาจรั่ว โดยการติดเครื่องเติมน้ำเพิ่มลงไปจนเต็ม และไล่ฟองอากาศแล้ว สักอึดใจถ้าน้ำลดลงไปแล้วไม่เพิ่ม วนขึ้นมา อาจจะรั่วได้ ซึ่งควรนำรถเข้าศุนย์บริการทันที
- ควรเติมน้ำที่สะอาดลงไปในหม้อน้ำเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้หม้อน้ำ หรือทางเดินของหลอดรังผึ้งหม้อน้ำเกิดการอุดตัน ถ้าเป็นไปได้ น้ำที่เราใช้ดื่มดีที่สุดสำหรับใช้เติมหม้อน้ำ
- หมั่นตรวจดูรอยรั่วตามที่จุดต่างๆ อย่างเช่น ท่อยางหม้อน้ำ ครีบรังผึ้ง ปั๊มน้ำ ฯลฯ หากพบรอยรั่วซึม ควรทำการซ่อม หรือเข้าศูนย์บริการฯ ทันที
- ตรวจดูครีบรังผึ้ง (FIN) ของหม้อน้ำ อย่าให้พับงอปิดช่องทางผ่านของลม ไม่ควรให้สกปรกด้วยดินโคลนและคราบน้ำมัน เพราะจะทำให้ระบายความร้อนได้ยาก เครื่องยนต์อาจร้อนจัด และหากครีบพับงอ ให้ใช้ใบเลื่อยหรือโลหะ งัดครีบให้ตั้ง เพื่อให้ลมผ่านสะดวก ดัดให้ตรง หรือถ้าครีบสกปรกมากให้ทำความสะอาดโดยใช้ลมเป่าหรือน้ำร้อนที่มีความดันสูงพอพ่นย้อนทิศทางลมเข้า
- พัดลมระบายความร้อนควรอยู่ในสภาพที่ดี ไม่แตกหัก หรือบิดงอเสียศูนย์ เพราะจะทำให้ปั๊มน้ำชำรุดได้ แต่ถ้าเป็นพัดลมไฟฟ้า ต้องคอยตรวจเช็คว่าพัดลมหมุนด้วยความเร็วเท่าเดิมหรือไม่ เพราะถ้าพัดลมหมุนด้วยรอบที่ช้าลง การระบายความร้อนให้หม้อน้ำรถยนต์ก็จะด้อยตามไปด้วย
- ไม่ควรติดเครื่องยนต์โดยไม่ได้ปิดฝาหม้อน้ำเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดตะกรันในหม้อน้ำและภายในเครื่องยนต์ เนื่องจากน้ำในรังผึ้งหม้อน้ำระเหยออกมา เมื่อเกิดตะกรันในหม้อน้ำ หรือบริเวณท่อทางเดินน้ำในเครื่องยนต์มาก ๆ จะเป็นผลให้เครื่องยนต์ร้อนจัด เพราะการระบายความร้อนไม่ดีพอ
- หากน้ำในหม้อน้ำแห้ง ในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน และมีอุณหภูมิสูง ไม่ควรดับเครื่องยนต์และเติมน้ำในทันที ให้ติดเครื่องเดินเบาๆ สักระยะหนึ่ง พอให้อุณหภูมิเครื่องยนต์ลดลง แล้วค่อยๆ เติมน้ำที่สะอาดลงไปทีละน้อยด้วยความระมัดระวัง
- ควรถ่ายน้ำในหม้อน้ำทิ้งทุกๆ 3-4 เดือน หรือเมื่อเห็นว่าน้ำในหม้อน้ำสกปรกมากแล้ว เช่น มีสนิมหรือคราบน้ำมัน และใช้น้ำยาหม้อน้ำผสมกับน้ำธรรมดาในอัตราส่วน 50/50 จะช่วยไม่ให้เกิดสนิมหรือตะกรันในหม้อน้ำ ทางเดินของน้ำก็จะไหลได้สะดวก น้ำยาที่ผสมนี้ควรเปลี่ยนทุกครั้งที่ล้างหม้อน้ำ
- ขณะขับขี่ต้องคอยดูเกจ์ความร้อน หากขึ้นถึงขีดแดงหรือที่เรียกว่า “ โอเวอร์ฮีด” ให้ดับเครื่องพักทันที แล้วนำไปเข้าศูนย์บริการซ่อมรถจักรยานยนต์เพื่อให้ช่างตรวจสอบทันที
ดังนั้น เพื่อให้หม้อน้ำรถยนต์อยู่คู่กับรถของท่านไปยาวนาน ก็ควรดูแลรักษาเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหม้อน้ำเกิดปัญหาขึ้นมา เครื่องยนต์จะเป็นส่วนที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด โดยเฉพาะหากเครื่องยนต์ร้อนจัดขนาด OVER HEAT สิ่งที่ต้องเสียตามมาติดๆ ก็คือเงินในกระเป๋าสตางค์ของท่าน ต้องถูกควักจ่ายเพิ่มขึ้นนั่นเอง ดังนั้นหากรักรถและไม่อยากมีปัญหาก็รีบกลับไปตรวจเช็คหม้อน้ำกันเลยนะครับ....